ทริปไปดูงาน

บล็อกนี้จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการเรียนการสอนรายวิชา อินเตอร์เน็ตและการสื่อสารในชีวิตประจำวัน ของ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

วันอังคารที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2554

8 วิธีบริหารสมองให้สดชื่น

     

         1. ประสานงานสมอง การเขียนเลข 8 ในอากาศด้วยมือทั้ง 2 ข้างๆ ละ 5 ครั้ง โดยเริ่มจากด้านซ้ายของเลขก่อน แล้วเขียนวนไปให้เป็นเลข 8 วิธีนี้จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพด้านการอ่าน และการทำความเข้าใจดีขึ้นและทำให้สมองด้านซ้ายและด้านขวาประสานงานกัน

          2. น้ำเปล่าหล่อเลี้ยงสมอง วางขวดน้ำไว้ใกล้ๆ โต๊ะของคุณเป็นประจำ และคอยจิบทีละน้อย วิธีนี้จะช่วยให้จิตใจและร่างกายของคุณตื่นตัวตลอดเวลา และสมองก็จะเปิดว่าง สามารถรับสารหรือข้อมูลได้ดี เพราะน้ำจะช่วยปรับสารเคมีที่สำคัญในสมองและระบบประสาท ถ้าเวลาที่รู้สึกเครียดเพราะขาดน้ำ จึงควรจิบน้ำเพื่อให้ร่างกายได้รับน้ำเพื่อไปหล่อเลี้ยงระบบของร่างกาย

          3. นวดจุดเชื่อมสมอง วางมือข้างหนึ่งไว้บนสะดือ มืออีกข้างหนึ่งใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้วางบนกระดูกหน้าอกบริเวณใต้กระดูกไหปลาร้า และค่อยๆ นวดทั้ง 2 ตำแหน่งประมาณ 10 นาที วิธีนี้จะช่วยลดความงงหรือสับสน กระตุ้นพลังงานและช่วยให้มีความคิดแจ่มใส

          4. บริหารกล้ามเนื้อหัวไหล่ ให้มือซ้ายจับไหล่ขวา บีบกล้ามเนื้อให้แน่นพร้อมหายใจเข้า จากนั้นหายในออกและหันไปทางซ้ายจนสามารถมองไหล่ซ้ายของตัวเอง จากนั้นสูดลมหายใจลึกๆ วางแขนซ้ายลงบนไหล่ขวา พร้อมกับห่อไหล่ ค่อยๆ หันศีรษะกลับไปตรงกลางและเลยไปด้านขวา จนกระทั่งสามารถมองข้ามไหล่ของคุณได้ ยืดไหล่ทั้ง 2 ข้างออก ก้มคางลงจรดหน้าอกพร้อมกับสูดลมหายใจลึกๆ เพื่อให้กล้ามเนื้อของคุณได้ผ่อนคลาย เปลี่ยนมาใช้มือขวาจับไหล่ซ้ายบ้างและทำซ้ำกันข้างละ 2 ครั้ง

          วิธีนี้จะช่วยบริหารกล้ามเนื้อตรงส่วนลำคอและไหล่ การได้ยิน, การฟัง และช่วยลดความตึงเครียดของกล้ามเนื้อที่เกิดจากการนั่งโต๊ะทำงานเป็นเวลานานอีกด้วย

          5. นวดใบหูกระตุ้นความเข้าใจ วิธีนี้ทำได้โดยการนั่งพักสบายๆ แตะปลายนิ้วทั้ง 2 ข้างที่ใบหู เคลื่อนนิ้วไปยังส่วนบนของหู จากนั้นบีบนวดและคลี่รอยพับของใบหูทั้ง 2 ข้างออก ค่อยๆ เคลื่อนนิ้วลงมานวดบริเวณอื่นๆ ของใบหู ดึงเบาๆ เมื่อถึงติ่งหู ดึงลง ให้ทำซ้ำกัน 2 ครั้ง วิธีนี้จะช่วยกระตุ้นการได้ยิน และทำให้ความเข้าใจดีขึ้น เพราะเป็นการคลายเส้นประสาทบริเวณใบหูที่เชื่อมสมอง

          6. บริหารขา โดยการยืนตรงให้เท้าชิดกัน ถอยเท้าซ้ายไปข้างหลัง โดยยกส้นเท้าขึ้น งอเข่าขวาเล็กน้อยแล้วโน้มไปข้างหน้าเล็กน้อย ก้นของคุณจะอยู่ในแนวเดียวกับส้นเท้าขวา สูดลมหายใจเข้าและผ่อนออก ในขณะที่ปล่อยลมหายใจออกนี้ ค่อยๆ กดส้นเท้าซ้ายให้วางลงบนพื้นพร้อมกับงอเข่าขวาเพิ่มขึ้น หลังเหยียดตรง สูดลมหายใจเข้าแล้วกลับไปตั้งต้นใหม่อีกครั้ง

          เปลี่ยนจากขาข้างซ้ายเป็นข้างขวา โดยออกกำลังในท่านี้ทั้งหมด 3 ครั้งด้วยกัน การบริหารท่านี้เหมาะสำหรับการปรับปรุงสมาธิ รวมทั้งช่วยเพิ่มความเร็วในการอ่านหนังสือ และยังช่วยให้กล้ามเนื้อต้นขา และกล้ามเนื้อน่องผ่อนคลายอีกด้วย

          7. กดจุดคลายเครียด ใช้นิ้ว 2 นิ้ว กดลงบนหน้าผากทั้ง 2 ด้าน ประมาณกึ่งกลางระหว่างขนคิ้ว และตีนผม กดค้างไว้ประมาณ 3 - 10 นาที วิธีนี้จะช่วยคลายความตึงเครียดและเพิ่มการหมุนเวียนโลหิตเข้าสู่สมอง

          8. บริหารสมองด้วยการเขียน เขียนเส้นขยุกขยิกด้วยมือทั้ง 2 ข้าง พร้อมๆ กัน ลายเส้นที่เขียนอาจจะดูเพี้ยนๆ แต่ได้ผลดีต่อระบบสมองเป็นอย่างดีทีเดียว วิธีนี้จะช่วยให้เกิดการปรับปรุงการประสานงานของสมอง ด้วยการทำให้สมองทั้ง 2 ซีกทำงานพร้อมกัน และเพิ่มความชำนาญด้านการสะกดคำและคำนวณดีและรวดเร็วขึ้นอีก



ขอบคุณข้อมูลจาก: รพ.ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ

ที่มา: ไอ.เอ็น.เอ็น.

วิธีบริหารสมอง พัฒนาความจำ


หลายคนคงเคยมีอาการ หลงๆ ลืมๆ แบบนี้ไหมคะ.....ลืมว่าเอากุญแจบ้านกับมือถือไปวางไว้ตรงไหน หรือออกจากบ้านแล้วแต่ต้องกลับเข้าไปใหม่เพราะลืมว่าปิดไฟแล้วหรือยัง หรือเห็นเงินในกระเป๋าแล้วงงว่าทำไมเหลือแค่นี้ ซื้ออะไรไปเนี่ย???
วันนี้มีเคล็ดลับช่วยจำและวิธีบริหารสมองมาฝาก
1. จดบันทึก    การจดบันทึกจะช่วยให้คุณวางแผนเรื่องต่างๆ ได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่ต้องทำในแต่ละวัน นัดหมายต่างๆ รวมไปถึงการจดเบอร์โทรศัพท์ ที่อยู่ อีเมล์แอดเดรส วันเกิดเพื่อน หรือข้อมูลเกี่ยวกับตัวคุณเอง เช่น ยาประจำตัว จะให้ดีควรเป็นสมุดเล่มเล็กๆ ที่พกพาติดตัวไปด้วยได้
การลงมือเขียนด้วยตัวเองจะช่วยย้ำให้สมองจดจำได้ดีขึ้น และดีกว่าการใช้เทคโนโลยีเป็นตัวช่วย เช่น การบันทึกไว้ในมือถือ
2. พูดกับตัวเอง   การพูดออกมาดังๆ ก็คล้ายกับการจดบันทึก เพียงแต่ออกมาในรูปของเสียง ควรเริ่มต้นตั้งแต่เช้า นึกถึงสิ่งที่คุณต้องทำในวันนั้น แล้วพูดออกมาดังๆ เช่น วันนี้ต้องซื้อบัตรเติมเงิน ตอนเที่ยงมีนัดกับลูกค้า ตอนเย็นต้องแวะซื้อของในซูเปอร์มาร์เก็ต ย้ำกับตัวเองซ้ำๆ หลายๆ ครั้ง
3. ติดโน้ตในที่ที่มองเห็นได้ง่าย เขียน สิ่งที่ต้องทำลงบนกระดาษโน้ตแผ่นเล็กๆ แปะไว้ในที่ที่มองเห็นได้ง่าย เช่น ประตูตู้เย็น ประตูบ้าน ในรถ หรือหน้าจอคอมพิวเตอร์ ทุกครั้งที่เห็นโน้ตที่ติดไว้ ก็เท่ากับเตือนสมองให้จดจำเรื่องเหล่านั้น
4. เก็บของให้เป็นที่      ฝึกนิสัยเก็บของให้เป็นที่ เช่น แขวนกุญแจไว้ข้างประตูทางออก วางมือถือไว้บนโต๊ะทำงาน เก็บยาก่อนนอนไว้ที่โต๊ะหัวเตียง ชีวิตที่เป็นระเบียบจะช่วยให้สมองเป็นระเบียบเช่นกัน
5. ทำชีวิตให้ช้าลง      สมองจะจดจำอะไรได้ช้าลงเมื่ออายุมากขึ้น การพูดเร็ว - ทำเร็วจนเกินไป ทำให้สมองเก็บเรื่องราวเหล่านั้นไว้ไม่ทันและหลงลืมไปในที่สุด
6. อย่าทำหลายอย่างพร้อมกัน การทำอะไรหลายๆ อย่างพร้อมกัน เช่น คุยโทรศัพท์ไปด้วย ดูโทรทัศน์ไปด้วย หรือทำงานไปด้วย ฟังเพลงไปด้วย จะทำให้ไม่มีสมาธิในการจำ ควรเลือกทำเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งจะดีกว่า
7. มีสติ      การมีสติขณะทำสิ่งต่างๆ จะช่วยให้เราไม่หลงลืมได้ง่าย สมองจะจดจำได้โดยอัตโนมัติว่า ขณะนั้นเราปิดไฟแล้ว ปิดน้ำแล้ว ปิดแก๊สแล้ว ไม่ต้องมานั่งลังเลสงสัยทีหลังว่า เอ๊ะ ฉันทำไปแล้วหรือยัง
8. ร่างกายแข็งแรง      สมองที่แจ่มใส มาจากร่างกายที่แข็งแรง ดูแลตัวเองให้ดี รับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ให้ครบหมู่ เน้นปลา ผักผลไม้สด ข้าวกล้อง และน้ำ หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เมื่อร่างกายแข็งแรง ความจำก็จะดีตามไปด้วย
9. ทำสิ่งที่ตัวเองถนัด   ความถนัดของแต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนจำได้ดีเมื่อได้มองเห็นหรือจดบันทึก บางคนจำได้ดีเมื่อได้ยินเสียงหรือพูดดังๆ บางคนจะจำได้ก็ต่อเมื่อได้ลงมือปฏิบัติ สังเกตตัวเองว่าคุณจำได้ดีกับวิธีการไหน แล้วเลือกวิธีการที่เหมาะกับตัวเอง แต่ถ้าจะให้ดี ใช้ทั้ง 3 วิธีสลับกันก็จะช่วยให้สมองได้ฝึกทักษะมากขึ้น
          วิธีบริหารสมอง ที่ช่วยในการพัฒนาความจำอย่างง่ายๆ สามารถทำได้ ดังนี้
1. หยิบสิ่งของในที่มืด หลับตาอาบน้ำ หรือหลับตาแต่งตัว
2. รับประทานอาหารหรือหยิบจับสิ่งต่างๆ โดยใช้มือข้างที่ไม่ถนัด
3. ฟังเพลงที่ไม่เคยได้ยินเนื้อร้องมาก่อน แล้วหัดร้องตามไปจนร้องได้

4. อ่านหนังสือหลายๆ ประเภท หรือเปลี่ยนจากคอลัมน์ที่เคยอ่านประจำไปอ่านคอลัมน์อื่นบ้าง
5. อ่านป้ายโฆษณาตามข้างทาง ท้ายรถตุ๊กตุ๊ก ข้างรถเมล์ หรือถุงกล้วยแขก
6. ดูโทรทัศน์ที่มีสองภาษา หรือดูภาพยนตร์ที่มีซับไตเติล
7. บวกลบเลขทะเบียนของรถคันหน้า หรือเลขบนตั๋วรถเมล์
8. เปลี่ยนกิจวัตรประจำวัน เช่น จัดห้องใหม่ เปลี่ยนที่วางของ เปลี่ยนเส้นทางการเดินทาง หรือจากที่เคยขับรถก็เปลี่ยนไปนั่งรถเมล์หรือรถไฟฟ้าแทนบ้าง
9. เล่นเกมฝึกสมอง เช่น หมากรุก หมากฮอส ปริศนาอักษรไขว้ จับผิดภาพ ฯลฯ
10. เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เช่น หัดเล่นดนตรี เรียนภาษา เรียนทำอาหาร ฝึกศิลปะป้องกันตัว ฯลฯ
11. หมั่นออกสังคม พบปะพูดคุยแลกเปลี่ยนทัศนคติกับเพื่อนฝูง อย่าแยกตัวออกจากสังคม เพราะจะทำให้สมองไม่เกิดการพัฒนาและเสื่อมไปในที่สุด

ฝึกสมองบ่อยๆ เพื่อความจำที่ดีและสมองอันชาญฉลาดจะได้อยู่คู่กับคุณไปนานๆ

ที่มา: หนังสือพิมพ์ASTV ผู้จัดการ

3 ท่าบริหารสมองปลอดโปร่ง



หากรู้สึกคิดช้า สมองล้า-ตึงเครียด ลองบริหารด้วย 3 ท่าง่าย ๆ ช่วยสมองปลอดโปร่ง เพิ่มความจำ และประสาทสัมผัสดีขึ้น

ท่าแรกคือนวดปุ่มขมับ โดยใช้ปลายนิ้วชี้ทั้ง 2 ข้าง กดตรงขมับ แล้วนวดเบา ๆ วนเป็นวงกลม ประมาณ 30 วินาที พร้อมกับกวาดตามองจากซ้ายไปขวา และล่างขึ้นบน จะกระตุ้นระบบประสาท ระบบการรับความรู้สึก และช่วยให้หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมองส่วนการมองเห็นทำงานดีขึ้น

อีกท่าเป็นการเคลื่อนไหล่สลับข้าง โดยยืนอยู่กับที่ เริ่มยกเข่าขึ้น พร้อมกับงอแขนใช้ศอกซ้ายแตะเข่าขวา และศอกขวาแตะเข่าซ้าย สลับกัน ค่อยๆ ทำเป็นจังหวะ จะช่วยกระตุ้นสมองส่วนที่ไม่ค่อยได้ใช้งานให้แอคทีฟขึ้น และสมองด้านซ้าย-ขวาทำงานประสานกันได้ดี รวมทั้งช่วยพัฒนาความจำ

สุดท้ายท่าปรบมือด้วยปลายนิ้ว โดยใช้มือทั้ง 2 ข้างประกบกันในลักษณะพนม ให้ทุกนิ้วสัมผัสกันเบา ๆ พร้อมกับหายใจเข้า-ออก ทำท่านี้ประมาณ 30 ครั้ง เนื่องจากที่มือ และนิ้ว มีเส้นเลือด เส้นประสาทมาหล่อเลี้ยงจำนวนมาก จึงกระตุ้นให้เลือดไหลเวียนทั่วร่างกาย โดยเฉพาะสมอง

วิธีบริหารสมองข้างต้น เป็นท่าง่ายๆ ไม่หักโหมร่างกาย เหมาะปฏิบัติทุกวัน ช่วยให้การถ่ายโยงข้อมูล และการเรียนรู้ของสมอง 2 ซีกเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังช่วยคลายความตึงเครียดของร่างกาย และจิตใจ ช่วยให้เกิดสมาธิ และรู้สึกสงบ





ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์

เทคนิคการพัฒนาตนเอง : เคล็ดลับการอ่านหนังสือแบบนักคิด



พอพูดถึงการอ่านแล้วหลายคนถึงกับมีอาการ(ง่วงนอน) เพราะนิสัยไม่ชอบอ่านมาตั้งแต่เด็ก บางคนชอบอ่านเป็นบางครั้ง บางเรื่อง บางเวลา และบางอารมณ์ แต่ในขณะที่บางคนเป็น “หนอนหนังสือ” เห็นตัวอักษรที่ไหน เมื่อไหร่ พลาดไม่ได้จะต้องขออ่านไว้ก่อน ถ้าวันไหนไม่ได้อ่านหนังสือมันเหมือนกับชีวิตขาดอะไรบางอย่างไป และพฤติกรรมการอ่านหนังสือของแต่ละคนก็มีความแตกต่างกันไปตามความชอบของแต่ละคน บางคนชอบอ่านหนังสือบนรถเมล์ บางคนชอบอ่านหนังสือก่อนนอน บางคนชอบอ่านหนังสือไปด้วยดูทีวีหรือฟังเพลงไปด้วย บางคนขาดไม่ได้ที่จะต้องอ่านหนังสือเวลาเข้าห้องน้ำ บางคนชอบอ่านหนังสือเวลาเครียด (ผมเองครับ...เทคนิคเฉพาะตัวใครจะเอาไปใช้ก็ได้ไม่สงวนลิขสิทธิครับ) และมีอีกสารพัดสไตล์ในการอ่านหนังสือของแต่ละบุคคล
แต่ประเด็นสำคัญที่ผมจะพูดในวันนี้ไม่ได้อยู่ที่รูปแบบการอ่าน หรือไม่ได้อยู่ที่ใครจะอ่านมากอ่านน้อย อ่านบ่อยอ่านถี่ แต่จะแนะนำเทคนิควิธีการในการอ่านหนังสืออย่างนักคิด พูดง่ายๆคืออ่านหนังสืออย่างไรจึงจะทำไห้เราได้ทั้งความรู้และพัฒนาศักยภาพทางความคิดไปในตัวด้วยนั่นเอง
เพื่อให้ท่านเปลี่ยนบทบาทจากนักอ่านเชิงอนุรักษ์นิยมไปสู่การเป็นนักอ่านเชิงนักคิด ผมขอแนะนำเทคนิคในการอ่านดังนี้
หนังสือคือเชื้อเพลิงทางความคิด
ผมมีความเชื่ออยู่อย่างหนึ่งว่าคนทุกคนมีศักยภาพในการคิดที่ไม่แตกต่างกัน แต่พลังทางความคิดของใครจะสูงส่งกว่ากันนั้นอยู่ที่ว่าใครสามารถสร้างพลังงานทางความคิดได้ดีกว่ากันมากกว่า พลังงานทางความคิดมาจากไหน ก็มาจากการจุดเชื้อเพลิงทางความคิด ถ้าจะถามต่อไปอีกว่าเชื้อเพลิง ทางความคิดมาจากไหน ก็มาจากการฟัง พูด อ่าน เขียนนั่นเองครับ ในที่นี้ผมจะขอพูดถึงเชื้อเพลิง ที่มาจากการอ่านก่อนนะครับ ในขณะที่เรากำลังอ่านหนังสืออยู่นั้น สมองของเรากำลังถูกลนด้วยไฟทางความคิดของผู้เขียนทำให้ความคิดของเราอ่อนตัวลง (คล้อยตามความคิดผู้เขียน) ช่วงเวลานี้ถือเป็นช่วงเวลาที่ดีที่เราจะขึ้นรูปทางความคิดใหม่ โดยอาศัยพลังงานจากการอ่านไป เพิ่มเติมและปรับเปลี่ยนความคิดเดิม หรือสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ทางความคิดใหม่ๆขึ้นมา ดังนั้น ในขณะอ่านหนังสืออย่าเพียงอ่านเพื่อให้รู้ว่าเขาเขียนว่าอะไรเท่านั้น แต่จงหยุดอ่านเป็นช่วงๆ เพื่อให้สมองได้มีเวลาคิดบ้าง เช่น อ่านจบแต่ละบท แต่ละตอนให้หยุดคิดสัก 1-2 นาที แล้วค่อยอ่านต่อ
บันทึกความคิดระหว่างการอ่าน
ขอให้คิดเสมอว่าหนังสือหนึ่งเล่มที่เรากำลังอ่านนั้น เป็นการลงทุนทางความคิด ดังนั้น เราจงหากำไรจากการอ่านให้มากที่สุด โดยการจดบันทึกความคิดที่มันวิ่งไปวิ่งมาในสมองของเรา จะสังเกตได้ว่าในขณะที่อ่านหนังสือไม่ว่าหนังสือประเภทไหน แม้กระทั่งการอ่านหนังสือพิมพ์ ในสมอง ของเราจะมีความคิดบางอย่างเกิดขึ้น บางครั้งเป็นความคิดที่เกิดขึ้นชัดเจน บางครั้งเป็นความคิดที่แว๊บขึ้นมาแล้วก็หายไปอย่างรวดเร็ว ประเด็นสำคัญอยู่ที่เราสามารถจับเอาความคิดที่แว๊บไปแว๊บมานั้นได้มากน้อยเพียงใด ผู้อ่านส่วนใหญ่ไม่ค่อยใส่ใจกับจุดนี้เท่าใดนัก จึงทำให้การอ่านเป็นเพียงการอ่านเพื่อรู้ แต่ยังขาดประเด็นเรื่องการอ่านเพื่อคิด ผมอยากแนะนำให้พกปากกาหรือดินสอติดตัวเสมอในระหว่างการอ่านหนังสือ เมื่อเราจับความคิดอะไรได้ ขอให้บันทึกไว้หน้าแรกหรือหน้าสุดท้ายของหนังสือ เมื่อเราอ่านจบเล่มแล้ว สิ่งที่เราบันทึกนั่นแหละคือกำไรแห่งชีวิตในการอ่านหนังสือ และผมคิดว่าความคิดที่เราคิดได้ในระหว่างการอ่านนั้นอาจจะมีค่ามากกว่าราคาของ หนังสือแต่ละเล่มก็ได้
อย่าอ่านเอาเรื่อง แต่จงอ่านเอาความคิด
การอ่านโดยทั่วไปคือการอ่านเอาเรื่อง เพื่อจะรู้ว่าเรื่องนั้นๆเป็นอย่างไร แต่การอ่านแบบนักคิด จะต้องอ่านตัวหนังสือเพื่อสื่อไปถึงเจตนารมย์ของผู้เขียนว่า จริงๆแล้วผู้เขียนต้องการสื่อความคิด อะไรออกมา หรือถ้าสามารถสาวไปถึงความคิดของผู้เขียนได้ก็จะยิ่งดีมากครับ ผมอยากจะบอกว่าตัวหนังสือที่เราอ่านนั้น เป็นเพียงส่วนหนึ่งของความคิดของผู้เขียนที่ถูกกรั่นกรองออกมาแล้ว เท่านั้น แต่กว่าที่เขาจะเขียนออกมาได้นั้น เขาต้องมีความคิดมากกว่าที่เขียนอย่างแน่นอน ผมคิดว่า ถ้าเราอ่านแค่เพียงตัวหนังสือหรืออ่านเอาเรื่องนั้น เรา(ในฐานะผู้อ่าน) คงจะมีความรู้และความคิดน้อยกว่าผู้เขียนอย่างแน่นอน ดังนั้น ถ้าเราอยากจะเป็นผู้อ่านที่เป็นนักคิดด้วยนั้น เราจะต้องเข้าถึงแนวคิดที่แท้จริงของผู้เขียนและต้องต่อยอดแนวคิดของผู้เขียนให้ได้
นำดอกผลทางความคิดไปใช้งาน
เมื่อเราบันทึกความคิดจากการอ่านหนังสือแต่ละเล่มไว้แล้ว อย่าลืมนำเอาความคิดที่ได้ระหว่างการ อ่านไปใช้งาน เพราะมิฉะนั้น ความคิดเหล่านั้นก็ไม่มีประโยชน์อะไร วิธีการนำเอาไปใช้ก็สามารถทำได้หลายวิธี เช่น การนำไปใช้เป็นแนวทางในการเขียนหนังสือ บทความ การนำไปใช้ในการพัฒนาปรับปรุงงาน การนำไปใช้ในการถ่ายทอดสู่ผู้อื่น การนำไปใช้ในการพัฒนาตัวเอง พัฒนา ลูกน้อง หรือบางคนอาจจะไปใช้ในการสร้างอาชีพใหม่ ซึ่งเทคนิคการนำเอาความคิดไปใช้อาจจะ นำไปใช้ตรงๆ หรือนำเอาความคิดนั้นไปผ่านกระบวนการคิดสร้างสรรค์แบบต่างๆ เช่น การคิด ข้ามกล่อง (Lateral Thinking) โดยการผสมผสานแนวคิดที่ได้จากการอ่านเข้ากับแนวคิดในเรื่องใด เรื่องหนึ่งเพื่อก่อให้เกิดความคิดใหม่ที่ดีกว่าเดิม
สรุป การอ่านหนังสือแบบนักคิดนั้นแตกต่างจากการอ่านหนังสือแบบผู้อ่านทั่วๆไปตรงที่เราใช้หนังสือเป็นบันไดในการก้าวไปสู่ความคิดของผู้เขียน ในขณะเดียวกันเราก็ใช้หนังสือเป็นเชื้อเพลิงในการจุดไฟเพื่อส่องสว่างทางความคิดให้กับเราเดินไปสู่ความคิดใหม่ที่เป็นของตัวเราเอง เราต้องคิดเสมอว่า ถ้าเราอ่านเพียงเพื่อรู้ เราจะเป็นได้เพียงผู้ตามเท่านั้น แต่ถ้าเราอ่านเพื่อคิด เราสามารถก้าวเป็นผู้นำ(ทางความคิด)ได้อย่างแน่นอน




Credit  http://www.peoplevalue.co.th/

เทคนิคการอ่านหนังสือให้เข้าใจ

อ่านแล้วเข้าใจ เข้าใจแล้วจด จดแล้วจำ จำแล้วทำให้ได้

            นี่เป็นปรัชญาที่ใช้กันมานาน บางคนก็อาจจะรู้อยู่แล้ว ในการที่เราจะจำเนื้อหาของเรื่องที่เรียนไปได้แม่น มันต้องเกิดจากความเข้าใจในเนื้อหานั้นก่อน ไม่ใช่สักแต่ว่าจำ จำอย่างเดียว จำแบบไม่เข้าใจอะไรเลย การจำแบบนี้เป็นการจดจำระยะสั้น และไม่สามารถนำไปใช้ในการทำข้อสอบแบบวิเคราะห์ได้ เพราะในขั้นตอนการจำ ไม่มีกระบวนการคิดวิเคราะห์ถึงสิ่งต่าง ๆ ที่ทำให้เป็นไป เลยทำให้ไม่รู้หลักเหตุและผล ว่าทำไมถึงเป็นอย่างนั้น หากข้อสอบออกมาไม่ตรงกับที่จำไป ก็จบเห่น่ะสิ

 การเขียนหรือการจดโน้ต

เป็นวิธีที่จะทำให้เราจำได้ง่ายขึ้น ซึ่งก่อนเขียนเราต้องเข้าใจอยู่แล้วว่าจะเขียนอะไรลงไป อย่าลอกตามหนังสือไปทั้งดุ้น และอย่าจดแบบให้มันเสร็จ ๆ ไป หรือจดแบบให้มีตามเพื่อน (เป็นกระแสนิยม) เพราะมันจะไม่ได้ผลอะไรเลย ควรจะสรุปประมวลออกมาเป็นเนื้อความ ตามที่เราเข้าใจ ซึ่งต้องเข้าใจอย่างถูกต้องด้วย อาจตรวจสอบโดยการผลัดกันตอบคำถามกับเพื่อน หรือถามครูอาจารย์ ดังนั้นอย่าขี้เกียจเขียนเลย เขียนเอง อ่านเอง ผลที่ได้ก็อยู่ที่ตัวเองทั้งนั้นแหละ

 คราวนี้ก็มาถึงการท่องจำ

            ส่วนใหญ่เมื่อเรารู้เรื่อง เราก็จะจำบางส่วนของเนื้อหาได้แล้ว นอกจากบางวิชา เช่น ชีวะฯ สังคม ที่เป็นวิชาท่องจำซะส่วนใหญ่ อาจต้องมีการมาท่องจำเพิ่มเติม การอ่านออกเสียงดัง ๆ ก็ช่วยให้จำดีขึ้น แต่ไม่ควรจะรบกวนผู้อื่น (มิฉะนั้นอาจจะได้รับสิ่งไม่พึงปรารถนา) การจำศัพท์ภาษาอังกฤษ อาจใช้วิธีเขียนใส่กระดาษแล้วแปะตามข้างฝาที่เรามองเห็นหรือผ่านตาเป็นประจำ เช่น ฝาข้างที่นอน ประตูห้องสุขา (ที่บ้านของตัวเองนะ) ตามที่ที่เราต้องเห็นทุกวัน อ้อ... ประตูของตู้เย็นก็ดีนะ เพราะเปิดออกจะบ่อย ก็หันมาเหลียวแลศัพท์ที่ตัวเองแปะไว้บ้าง เห็นบ่อย ๆ เดี๋ยวก็เข้าสมอง

 เวลาที่ดีสำหรับการอ่าน

            เคยมีคนบอกว่าเวลาที่ดีที่สุด คือ ตอนเช้า เพราะร่างกายและสมองของเราได้พักผ่อนอย่างเต็มที่ มีการจัดระเบียบเรียบร้อย เพื่อให้พร้อมกับการใส่ข้อมูลใหม่ ๆ เข้าไป อันนี้เป็นเรื่องจริง แต่สำหรับคนที่ตื่นเช้าไม่ไหว เวลาดึก ๆ ที่เงียบ ๆ ก็ได้ เพราะความเงียบทำให้สมองเราสามารถคิดสิ่งต่างๆ ได้ดี แต่อาจจะไม่เท่าตอนเช้า เพราะสมองเราต้องเหนื่อยจากการเรียนมาแล้วทั้งวัน บางคนยังมีการเรียนพิเศษตอนเย็นอีก การอ่านหนังสือตอนกลางคืน ควรจะอ่านเท่าที่ร่างกายรับได้ พอเริ่มง่วงสัก 5 ทุ่มก็ควรเข้านอน แล้วก็ตั้งนาฬิกาปลุกตอนตี 3 ตี 4 ตี 5 แนะนำให้ตั้งนาฬิกาปลุกก่อนเวลาที่ต้องตื่นไปสักครึ่งชั่วโมง เพื่อที่เราจะได้มีเวลาเกลือกกลิ้งอยู่บนที่นอนก่อนสักพัก ถึงค่อยลุกไปล้างหน้าล้างตา มานั่งอ่าน ขอย้ำว่าควรทำให้ตัวเองตื่นเต็มที่ก่อนจะอ่าน เพราะไม่งั้นเดี๋ยวก็หลับคาหนังสืออีกจนได้

 เวลาที่ไม่เหมาะสำหรับการอ่านหนังสือเรียนเลย

            คือ ช่วงบ่ายหลังจากกินข้าวเสร็จอิ่ม ๆ เคยได้ยินสุภาษิตไทยที่ว่า... พอหนังท้องตึง หนังตาก็หย่อน หรือเปล่า เพราะช่วงบ่ายจะเป็นช่วงที่คนเรามีความง่วงนอน อ่านไปก็หลับ ยิ่งหนังสือเรียนด้วย และไม่ควรนอนอ่านหนังสือ โดยเฉพาะบนเตียง ขอบอกว่าหลับแน่ ๆ ไม่ใช่อ่านนิยายนี่ มันจะน่าติดตาม จนอยากอ่านให้จบ

            การอ่านหนังสือ ควรจะอ่านในสถานที่ที่สงบเงียบ และสมองของเราต้องพร้อมที่จะรับเรื่องใหม่ ๆ นั่นแหละการอ่านถึงจะได้ผลสูงสุด





ที่มา: วิชาการดอตคอม

สอนแต่งหน้ารับปริญญากับโมเม คลิป 2

โมเมสอนแต่งหน้ารับปริญญา คลิป 1